วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

โครงการเรียนรู้จากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย

ณ หมู่เรียนปู่ทวดครูสิงห์

       แหล่งเรียนรู้ชุมชน ครอบครัวปู่ทวดครูสิงห์ สืบสานเจตนารมณ์บรรพบุรุษจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียน สอนพิเศษให้กับนักเรียนในชุมชนในวันหยุด เสาร์ อาทิตย์ และวันธรรมดา

       แหล่งเรียนรู้รู้ชุมชนหรือบ้านหลังเรียนของหลวงปู่ทวดครูสิงห์ ซึ่งเป็นสถานทีบ้านหลังเล็กเปรียบเหมือนสถานศึกษาศิษย์ที่บุตรและธิดาได้สืบสานอุดมการณ์ต่อจากวิถีคิดของพ่อกับแม่ว่า ต้องการสร้างโรงเรียนให้การศึกษาแก่บุตรหลานในชุมชนตนเอง ที่บ้านกุดแคนหมู่ ๖ ตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ครอบครัวปู่ทวดครูสิงห์และแม่สง่า ฤทธิเดช ได้ร่วมกันจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์แม่สง่า ฤทธิเดช เปิดสอนพิเศษให้กับนักเรียนในชุมชนตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยเปิดทำการสอนให้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงปีที่ ๖ มีนักเรียนทั้งสิ้น ๘๐ คน จาก ๑๒ หมู่บ้าน เปิดเรียนวันเสาร์ และวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา ๐๙.๓๐ น.- ๑๒.๓๐ น. โดยห้องเรียนใช้บริเวณห้องโถงข้างบ้าน และสวนหลังบ้านใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ

ณ. แหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์
 
       โครงการบ้านหลังเรียนแหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์บ้านกุดแคน ต.หนองโน อ.เมือง จ.มหาสารคาม เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสานต่ออุดมการณ์ของปู่ทวดครูสิงห์ ฤทธิเดชอดีตครูประชาบาลที่มีความต้องการสร้างโรงเรียนให้ชุมชน และเพื่อแก้ปัญหาเยาวชนใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนไปทำกิจกรรมเสี่ยง ด้วยการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อกันเด็กและเยาวชนไม่ให้หลงทางเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่เสี่ยงในสังคม ให้หันมาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ภายใต้แนวคิดเด็กนำผู้ใหญ่หนุนโดยมีดร.ประสพสุข ฤทธิเดช หรืออาจารย์ป้าต๋อยผู้อำนวยการและผู้ประสานงานแหล่งเรียนรู้ชุมชนฯ 
       โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสารสนเทศเพื่อการศึกษาสามารถดาวน์โหลดรายละเอียดโครงการ คลิกที่นี่






วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

บล็อกที่อยากจะแนะนำ

       ขอแนะนำบล็อกที่รวบรวมผลงานหนังสือนิทานอีบุ้ค (e-book) หรือหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ ผลงานทั้งหมดจัดทำขึ้นโดยนักศึกษาที่เรียนในรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสานสนเทศเพื่อการศึกษา สอนโดย อาจารย์อัจฉริยะ วะทา โดยบล็อกนี้มีชื่อว่า atinno.blogspot.com
       มีหนังสือนิทานอีบุ้คที่เป็นฝีมือของนักศึกษาในหลายๆสาขา มีนิทานหลายเรื่องที่น่าอ่านและสามารถโหลดเก็บไว้หรือนำไปสอนได้ด้วย 

       นอกจากนี้ก็ยังรวมผลงานการจัดทำบล็อกของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชารวมไว้ด้วย จัดทำเพื่อเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับความรู้ที่น่าสนใจไว้มากมาย และเป็นเว็บที่เหมาะสำหรับผู้ที่อยากจะทำหนังสือแบบทำมือและทำเป็นอีบุ้ค (e-book) ด้วย โดย atinno.blogspot.com












ผึ้งน้อยหนีงาน


 หนังสือนิทานเรื่อง : ผึ้งน้อยหนีงาน
จัดทำโดย : นางสาวพชรพร  ตรีท่อ
จำนวนหน้า : ๑๒ หน้า
เรื่องย่อ : ชีวิตของผึ้งที่มีความขี้เกียจในการทำงาน และผลของความขี้เกียจจึงทำให้ผึ้งน้อยเกิดความลำบาก และจะเป็นเช่นไรต่อไป ให้ติดตามได้ในหนังสือนิทาน e-book ค่ะ
 
 
๑.
 
๒.
 
๓.
 
๔.
 
 
๖.
 
 
๗.
 
 
๘.
 
 
๙.

๑๐.
 
 
๑๑.
 
 
๑๒.
 






ปล. คุณสามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้ คลิกที่นี่



วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

การอ่านตัวเลขต่างๆ

มีหลักการในการอ่านดังนี้
๑. การอ่านจำนวนเลขตั้งแต่ ๒ หลักขึ้นไป  ถ้าเลขตัวท้ายเป็นเลข ๑ ให้ออกเสียงว่า "เอ็ด" เช่น
              เขียน                                        อ่านว่า
           ๑๑                                สิบ - เอ็ด
           ๒๑                                ยี่ - สิบ - เอ็ด
           ๑๐๑                              ร้อย - เอ็ด  หรือ  หนึ่ง - ร้อย - เอ็ด
           ๑๐๐๑                            พัน - เอ็ด  หรือ  หนึ่ง - พัน -เอ็ด
           ๒๕๐๑                           สอง - พัน - ห้า - ร้อย - เอ็ด
           ๕๐๑,๗๔๑,๒๒๑            ห้า - ร้อย - เอ็ด - ล้าน -
                                               เจ็ด - แสน - สี่ -หมื่น - หนึ่ง - พัน -
                                               สองร้อย - ยี่ - สิบ - เอ็ด          
 
๒. การอ่านตัวเลขที่มีจุดทศนิยม
          ๒.๑ ตัวเลขหน้าจุดทศนิยม ให้อ่านแบบจำนวนเต็ม ตัวเลขหลังจุดทศนิยม ให้อ่านแบบเรียงตัว  เช่น
          เขียน                               อ่านว่า
         ๑.๒๓๕         หนึ่ง - จุด - สอง - สาม - ห้า
         ๕๑.๐๘          ห้า - สิบ - เอ็ด - จุด - สูน -                              แปด
     ๒.๒ ตัวเลขที่เป็นเงินตรา หรือ หน่วยนับ ให้อ่านตามหน่วยเงินตรา หรือ หน่วยนับนั้นๆ เช่น
              เขียน                                        อ่านว่า
          ๕.๘๐ บาท                      ห้า - บาท - แปด - สิบ - สะ - ตาง
          ๘.๖๕ ดอลลาร์                 แปด - ดอน - ล่า - หก - ห้า - เซ็น
          ๓.๕๘ เมตร                      สาม - เมด - ห้า - สิบ - แปด -                                                 เซ็น - ติ - เมด
          ๒.๒๐๕ กิโลกรัม               สอง - กิ - โล - กรัม - สอง -                                                 ร้อย - ห้า - กรำ
 
๓. การอ่านตัวเลขบอกเวลา
           ๓.๑ การอ่านชั่วโมงที่ไม่มีจำนวนนาที เช่น
              เขียน                                        อ่านว่า    
          ๐๕.๐๐ น. หรือ ๐๕:๐๐ น.            ห้า - นา - ลิ - กา
          ๒๔.๐๐ น. หรือ ๒๔:๐๐ น.           ยี่ - สิบ - สี่ - นา - ลิ - กา
           ๐๐.๐๐ น. หรือ ๐๐:๐๐ น.            สูน - นา - ลิ - กา
           ๓.๒ การอ่านชั่วโมงกับนาที เช่น
              เขียน                                         อ่านว่า
          ๑๑.๓๕ น. หรือ ๑๑:๓๕ น.           สิบ - เอ็ด - นา - ลิ - กา -                                                           สาม - ห้า - นา - ที
          ๑๖.๓๐ น. หรือ ๑๖:๓๐ น.            สิบ - หก - นา - ลิ - กา -                                                           สาม - สิบ - นา -ที
          ๐๐.๐๕ น. หรือ ๐๐:๐๕ น.             สูน - นา - ลิ - กา - ห้า -                                                            นา - ที
          ๓.๓ การอ่านชั่วโมง นาที และวินาที เช่น
              เขียน                                        อ่านว่า       
         ๗:๓๐:๔๕                             เจ็ด - นา -ลิ - กา -สาม - สิบ -                                                     นา - ที - สี่ - สิบ - ห้า - วิ -                                                     นา - ที        
         ๐๒:๒๘:๑๕                           สอง - นา - ลิ - กา - ยี่ - สิบ -                                                     แปด - นา - ที - สิบ - ห้า - วิ -                                                     นา - ที
     ๓.๔ การอ่านเวลที่มีเศษของวินาที ตัวเลขหลังจุดทศนิยมที่เป็นเศษของวินาที ให้อ่านเรียงตัว เช่น
             เขียน                                              อ่านว่า
         ๘:๐๒:๓๗.๘๖                             แปด - นา - ลิ - กา - สอง -                                                           นา- ที - สาม - สิบ - เจ็ด -                                                           จุด - แปด -หก - วิ - นา -ที
         ๑๐-๑๔-๒๔.๓๗                           สิบ - นา - ลิ - กา - สิบ -                                                           สี่ - นา - ที - ยี่ - สิบ - สี่ -                                                           จุด - สาม - เจ็ด - วิ -                                                            นา -ที
 หมายเหตุ : การเขียนตัวเลขบอกเวลาโดยใช้เครื่องหมายทวิภาค (:) คั่นระหว่างตัวเลขบอกชั่วโมง นาที วินาที เป็นวิธีการเขียนอย่างทั่วไปส่วนการใช้เครื่องหมายยติภังค์ (-) คั่นระหว่างตัวเลขบอกชั่วโมง นาที วินาที เป็นวิธีการเขียนที่ใช้ในการเดินเรือหรือทางดาราศาสตร์

 
๔. การอ่านตัวเลขที่แสดงมาตราส่วน หรือ อัตราส่วน เช่น
         เขียน                                                    อ่านว่า
         ๑:๑๐๐,๐๐๐                                หนึ่ง - ต่อ - แสน หรือ
                                                           หนึ่ง - ต่อ - หนึ่ง - แสน
         ๑:๒:๔                                         หนึ่ง - ต่อ - สอง - ต่อ - สี่
 
๕. การอ่นเลขหนังสือราชการ นิยมอ่านเรียงตัว เช่น
         - หนังสือที่ รถ ๐๐๐๑/๑๐๒ ลว. ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๘  อ่านว่า  หนัง - สือ - ที่    รอ - ถอ    สูน - สูน - สูน - หนึ่ง  ทับ   หนึ่ง - สูน - สอง  ลง - วัน - ที่   สิบ ตุ - ลา - คม    พุด - ทะ - สัก - หราด    สอง - พัน - ห้า - สาม - สิบ - แปด
         - หนังสือที่ ศธ ๐๐๓๐.๐๑/๕๙๗ ลว.  ๘ พ.ย. ๒๕๓๔  อ่านว่า  หนัง - สือ - ที่   สอ - ทอ   สูน - สูน - สาม - สูน - จุด - สูน - หนึ่ง   ทับ   ห้า - เก้า - เจ็ด   ลง - วัน - ที่   แปด   พรึด - สะ - จิ - กา - ยน   พุด - ทะ - สัก - กะ - หราด   สอง - พัน - ห้า - ร้อย - สาม - สิบ - สี   (เพิ่มข้อความ "พุทธศักราช" เพื่อให้ความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น)
 
๖. การอ่านเลข ร.ศ. ที่มีการเทียบเป็น พ.ศ. กำกับ เช่น
         - ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖)   อ่านว่า   รัด - ตะ - นะ - โก - สิน - สก   ร้อย - สิบ - สอง   ตรง - กับ   พุด - ทะ - สัก - กะ - หราด   สอง - พัน - สี่ - ร้อย - สาม - สิบ - หก   (เพิ่มข้อความ "ตรงกับ" เพื่อให้ความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น)   หรือ   รัด - ตะ - นะ - โก - สิน - สก ร้อย - สิบ - สอง   วง - เล็บ - เปิด    พุด - ทะ - สัก - กะ - หราด สอง - พัน - สี่ - ร้อย - สาม - สิบ - หก   วง - เล็บ - ปิด
 
๗.การอ่านบ้านเลขที่
  •  บ้านเลขที่ทีมีเครื่องหมายทับ (/) และบ้านเลขที่ที่ไม่มีเครื่องหมายทับ (/) มีหลักการอ่านเหมือนกัน คือ บ้านเลขที่ซึ่งมีตัวเลข ๒ หลัก ให้อ่านแบบจำนวนเต็ม ถ้ามีตัวเลข ๓ หลักขึ้นไป ให้อ่านเรียงตัวหรือแบบจำนวนเต็ม ส่วนตัวเลขหลังเครื่องหมายทับ (/) ให้อ่านเรียงตัว เช่น
         บ้านเลขที่ ๑๐   อ่านว่า   บ้าน - เลก - ที่  สิบ
         บ้านเลขที่ ๔๑๔   อ่านว่า   บ้าน - เลก - ที่   สี่ - หนึ่ง - สี่  หรือ  บ้าน - เลก - ที่   สี่ - ร้อย - สิบ - สี่
         บ้านเลขที่ ๖๕๗/๒๑   อ่านว่า   บ้าน - เลก - ที่   หก - ห้า - เจ็ด  ทับ  สอง - หนึ่ง  หรือ  บ้าน - เลก - ที่  หก - ร้อย - ห้า - สิบ - เจ็ด  ทับ  สอง - หนึ่ง
  •  กลุ่มตัวเลขที่มีเลข ๐ นำหน้า อ่านเรียงตัวเสมอ เช่น
         บ้านเลขที่ ๐๘๖๔/๑๑๐๘   อ่านว่า   บ้าน - เลก - ที่   สูน - แปด - หก - สี่  ทับ  หนึ่ง - หนึ่ง - สูน - แปด
 
๘. การอ่านรหัสไปรษณีย์
         รหัสไปรษณีย์เป็นกลุ่มตัวเลขที่กำหนดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้ทราบถึงปลายทางของสิ่งที่ส่งทางไปรษณีย์ และใช้แทนรายละเอียดพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้การคัดแยกและส่งต่อทางไปรษณืย์ไปยังปลายทางเป็นไปด้วความถูกต้องและรวดเร็วรหัสไปรษณีย์ประกอบด้วยตัวเลข ๕ ตัว ตัวเลข ๒ ตัวแรก หมายถึง จังหวัด ส่วนตัวเลข ๓ ตัวหลัง หมายถึงที่ทำการไปรษณีย์ของจังหวัดนั้นๆ เช่น  รหัสไปรษณีย์  ๓๒๑๙๐  ตัวเลข ๓๒ หมายถึง จังหวัดสุรินทร์  ส่วนตัวเลข ๑๙๐ หมายถึงที่ทำการไปรษณีย์จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งรับผิดชอบการนำจ่ายสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ในพื้นที่ชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
         การอ่านเลขรหัสไปรษณีย์ ให้อ่านตัวเลขแบบเรียงตัว ดังนี้
         รหัสไปรษณีย์ ๓๒๑๙๐   อ่านว่า   ระ - หัด - ไปร - สะ - นี   สาม - สอง - หนึ่ง - เก้า - สูน
 
๙. การอ่านเลขแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์
     ๙.๑ แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้อ่านหมายเลขประจำหมวดกับตัวอักษรบอกหมวดก่อน แล้วจึงอ่านตัวเลขแบบเรียงตัว ตามด้วยชื่อจังหวัดที่จดทะเบียน ส่วนแผ่นป้ายทะเบียนตามกฏกระทรวง ฉบับที่ ๒๕ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้อ่านตัวอักษรบอกหมวดก่อนแล้วอ่านตัวเลขแบบเรียงตัวตามด้วยชื่อจังหวัดที่จดทะเบียน ดังนี้
         เลขทะเบียน ๕ช-๒๔๓๗ กรุงเทพมหานคร   อ่านว่า  เลก - ทะ - เบียน   ห้า - ชอ - ช้าง   สอง - สี่ - สาม - เจ็ด   กรุง - เทบ - มะ - หา - นะ - คอน
         เลขทะเบียน ภบ ๔๑๐๗ กรุงเทพมหานคร   อ่านว่า   เลก - ทะ - เบียน   พอ - สำ - เพา - บอ - ใบ - ไม้   สี่ - หนึ่ง - สูน - เจ็ด   กรุง - เทบ - มะ - หา - นะ - คอน
     ๙.๒ แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ ๒๕๒๒ นั้น ให้อ่านตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถยนต์ก่อน แล้วจังอ่านตัวเลขแบบเรียงตัว ตามด้วยชื่อรหัสจังหวัดที่จดทะเบียน ดังนี้
         เลขทะเบียน ๘๐-๒๔๓๗ กรุงเทพมหานคร ๐๑   อ่านว่า   เลก - ทะ - เบียน   แปด - สูน - สอง - สี่ - สาม - เจ็ด   กรุง - เทบ - มะ - หา - นะ - คอน  สูน - หนึ่ง

 
๑๐. การอ่านหมายเลขโทรศัพท์
               การอ่านหมายเลขโทรศัพท์ แต่เดิมกำหนดให้อ่านเลข "สอง" ว่า "โท" เพื่อให้เสียงอ่านเลข "๒" กับเลข "๓" แตกต่างกัน เนื่องจากหมายเลขโทรศัพท์ประกอบด้วยตัวเลขหลายตัว บางครั้งอาจมีเลข ๒ และ ๓ อยู่เรียงกันหลายตัว เสียงอ่านเลข "๒" กับเลข "๓" มีเสียงใกล้เคียงกัน แต่ปัจจุบันระบบโทรศัพท์พัฒนาเจริญก้าวหน้ามาก เสียงอ่านเลข "๒" ไม่สับสนเป็น "๓" จึงให้อ่านเลขหมายโทรศัพท์ "๒" ว่า "สอง" หรือจะอ่านว่า "โท" ก็ได้
     ๑๐.๑ หมายเลขโทรศัพท์ในประเทศ
                 ในปัจจุบันได้มีการกำหนดรูปแบบหมายเลขโทรศัพท์ในประเทศทั้งโทรศพท์พื้นฐานและโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยรวมหมายเลขรหัสไกลหรือรหัสโทรเคลื่อนที่ที่มีอยู่เดิมเข้ากับหมายเลขโทรศัพท์เป็นหมายเลข ๙ หลัก การเขียนและอ่านหมายเลขโทรศัพท์ ซึงเดิมเขียนและอ่านหมายเลขรหัสทางไกลหรือรหัสโทรศัพท์เคลื่อนที่ก่อนแล้วจึงเขียนและอ่านหมายเลขโทรศัพท์ ได้รับเปลี่ยนใหม่ เป็นดังนี้
                 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลซึ่งเดิมมีรหัสทางไกล ๐๒ เขียนดังนี้
                       หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๕๓๑ ๓๒๓๔    อ่านว่า   หมาย - เลก - โท - ระ - สับ   สูน  สอง - ห้า - สาม - หนึ่ง   สาม - สอง - สาม - สี่   หรือ   หมาย - เลก - โท - ระ - สับ   สูน โท - ห้า - สาม - หนึ่ง   สาม - โท - สาม - สี่
                       หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๖๔๓ ๕๑๕๑-๒๒   อ่านว่า    หมาย - เลก - โท - ระ - สับ    สูน  สอง - หก - สี่ - สาม    ห้า - หนึ่ง - ห้า - หนึ่ง   ถึง   สอง - สอง
                 ในต่างจังหวัด เช่น จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเดิมมีรหัสทางไกล (๐๓๒) เขียนดังนี้
                       หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๓๒๒๑ ๑๒๓๔   อ่านว่า   หมาย - เลก - โท - ระ - สับ   สูน   สาม - สอง - สอง - หนึ่ง   หนึ่ง - สอง - สาม - สี่   หรือ   หมาย - เลก - โท - ระ - สับ   สูน   สาม - โท - โท - หนึ่ง   หนึ่ง - โท - สาม - สี่
                หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งมัรหัส ๐๘๑ ๐๘๙ ๐๘๖  เขียนดังนี้
                       หมายเลขโทรศัพท์  ๐๘ ๑๕๕๓ ๐๗๔๓   อ่านว่า   หมาย - เลก - โท - ระ - สับ    สูน - แปด  หนึ่ง - ห้า - สาม   สูน - เจ็ด - สี่ 

ข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่นี่


วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของ "ศรีธนญชัย"

             
 
       
        การถ่ายทอดเรื่องราวของศรีธนญชัย ยอดตลกหลวง ผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดปราดเปรื่อง โดยมีบทเริ่มต้นดังนี้         กาลครั้งหนึ่งยังมีสองสามีภรรยาอยู่กินด้วยกันมาอย่างมีความสุขเป็นเวลา หลายปี แต่กลับยังไม่มีบุตร "นายชัย" ผู้เป็นสามีจึงปรึกษากับ "นางศรี" ภรรยาของตนว่าควรปลูกศาลเพียงตาทำพิธีบวงสรวงเทพยดา เพื่อขอทายาทไว้สืบสกุล ร้อนถึง พระอินทร์ เมื่อรู้สึกว่าพระแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ เกิดแข็งกระด้างจึงเล็งทิพยเนตรลงมาตรวจดูความเป็นไปของชาวโลก
        ครั้นทราบความประสงค์ของสองสามีภรรยาก็มีจิตเมตตาคิดจะช่วย สงเคราะห์ให้สมความปรารถนา จึงมีบัญชาให้เทวบุตรองค์หนึ่งจุติลงมาในครรภ์ของนางศรี ในค่ำคืนนั้น นางศรีฝันว่าได้ไปเที่ยวเล่นและพบเขาพระสุเมรุขวางอยู่ จึงผลักเบี่ยงให้พ้นทาง ครั้นเห็นพระจันทร์ลอยเด่นอยู่ตรงหน้าได้คว้าเอามาถือไว้ พลันนางศรีก็ตกใจตื่นรีบปลุกสามีเล่าความฝันให้ฟัง รุ่งเช้านางได้ไปหาท่านสมภารที่วัดหมายให้ช่วยทำนายฝัน
        บังเอิญท่านสมภารออกไปฉันเพลนอกวัด สามเณรซึ่งเป็นผู้เฝ้ากุฏิจึงทำนายให้เองว่า นางจะให้กำเนิดบุตรชาย และเมื่อโตขึ้นเขาผู้นั้นจะได้เป็นยอดตลกหลวงผู้มีชื่อเสียง นางศรีดีใจรีบกลับไปบอกนายชัยสามี ครั้นท่านสมภารกลับมาได้ฟังเรื่องราวจากสามเณรก็ดุบอกว่าทำนายผิด เพราะลูกของเขาจะเป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดเหนือคนทั้งปวงต่างหาก

             เมื่อครบกำหนดคลอดเพื่อนบ้านได้มาเยี่ยม และนำข้าวของมาให้เป็นอันมาก พอนางศรีแข็งแรงดีแล้วจึงชวนสามีนำลูกชายไปหาท่านสมภารให้ช่วยตั้งชื่อ ท่านสมภารได้นำชื่อของแม่คือ "ศรี" นำหน้า ปิดท้ายด้วยชื่อพ่อคือ "ชัย" โดยมีคำว่า "ธนญ" อยู่ตรงกลางจึงกลายเป็น ศรีธนญชัย ซึ่งเป็นเด็กที่ช่างพูดช่างเจรจา พ่อกับแม่และชาวบ้านต่างพากันให้ความรักและเอ็นดู
        ประวัติศรีธนญชัยนั้นมีอยู่หลายเวอร์ชั่น ทางภาคเหนือและอีสานท่านเรียกว่า "บักเสี้ยงเมี้ยง" คำว่า "เสี้ยง" นั้นเพี้ยนมาจากคำว่า "เชียง" หรือ "เซียง" ซึ่งเป็นคำเรียกคนเคยบวช เหมือนกับคำว่า "ทิด" ซึ่งใช้เรียกคนเคยผ่านการบวชพระมาแล้วในภาคกลาง "เซียง"หรือ "เสี้ยงเหมี้ยง" ก็คือ "ทิดเหมี้ยง" ส่วนคำว่า "เหมี้ยง" ซึ่งคู่กับคำว่า "หมาก" นั้น หวังว่าคงไม่ต้องแปล
        แต่สมัยเป็นสามเณรนั้น "เซียงเหมี้ยง" ใช้ไหวพริบเอาเหมี้ยงของพ่อค้ามากินฟรีๆ โดยการพนันกันว่า พ่อค้าจะหาบเหมี้ยงข้ามน้ำมาโดยที่เหมี้ยงไม่เปียกได้หรือไม่ ? ปรากฏว่าพวกพ่อค้าหาบเหมี้ยงลุยน้ำข้ามมา หาได้หาบเหมี้ยงข้ามน้ำมาไม่ ศรีธนญชัยปรากฏตัวในบทนี้ บทที่ได้เหมี้ยงไปกินฟรี "สี่ซ้าห้าบาท" คือกวาดเรียบ เอาทั้งซ้าคือตะกร้าหรือชะลอมและบาตรพระมาใส่เหมี้ยงฟรี จนเหมี้ยงมีให้ไม่พอปรับ นับเป็นการขึ้นชื่อลือชาในด้านไหวพริบปฏิภาณเป็นอย่างยิ่ง
        สมัยราชาธิปไตยนั้น ไม่มีการคัดค้านต่อหน้าพระพักตร์ ใครขืนขัดก็จะโดนขัดทั้งดอกทั้งต้นจนตัวตาย การแสดงออกในทางการเมืองของคนไทยสมัยโบราณจึงต้องแสดงผ่านตัวละครไปในแนวตลก และผู้ที่จะสามารถต่อกรกับพระราชาได้ก็เห็นจะมีเพียงพระสงฆ์เท่านั้น ดังนั้นพระสงฆ์หรือตัวแทนของพระสงฆ์จึงถูกอุปโลกน์ให้เป็นตัวแทนฝ่ายประชาชน เข้าไปคานอำนาจกับพระราชาในการบริหารกิจการบ้านเมือง รวมถึงการวินิจฉัยอรรถคดีต่างๆ
        ศรีธนญชัยจึงได้ฉายาว่า "ตลกหลวง" บวกกับภูมิปัญญาแบบไทยๆ ที่ใช้ความได้เปรียบเสียเปรียบโดยไม่คำนึงถึงกฎเกณฑ์กติกา แต่อาศัยเพียงว่าใครไหวพริบดีกว่าก็ได้ไป ส่วนใครโง่เง่าเอาไม่ทันก็ปล่อยให้มันเป็นฝ่ายแพ้ ไม่มีใครเหลียวแล ทุกคนสนใจก็แต่ฝ่ายชนะ ชัยชนะแบบศรีธนญชัยซึ่งไม่โปร่งใสในทางคุณธรรมจริยธรรม ไร้ทั้งจรรยาและมารยาท กลับกลายเป็นฮีโร่ในใจของคนไทย
        ศรีธนญชัย..เป็นผู้มีชื่อเสียงเลื่องลือทางด้านสติปัญญา แต่ทำไมนะทำไม..เขาจึงกลับไม่ใช่คนน่าคบหา ความฉลาดของเขา..ไม่ได้ทำให้คนชื่นชมเขาหรอกหรือ.. มาดูสิว่า..ปฏิภาณและไหวพริบนั้น ทำให้เขารอดปลอดภัยมาได้อย่างไรกัน ชีวิตศรีธนญชัยมีทั้งด้านดีคือรู้จักใช้ปัญญา แต่อีกด้านหนึ่งใช้ความฉลาดของตนเอาเปรียบคนอื่น ไม่นึกถึงความผิดชอบชั่วดี สุดท้ายต้องรับกรรมที่ก่อไว้...?
 
 
 

นางในวรรณคดี "นางวันทอง"

        นางวันทองเป็นธิดาคนเดียวของพันศรโยธา และนางศรีประจัน ครอบครัวของนางวันทองเป็นตระกูลพ่อค้าที่มีฐานะดีพอส มควร นางจึงได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดี
        นางวันทองมีรูปร่างหน้าตาสวยงาม อรชนอ้อนแอ้น กิริยามารยาทแช่มช้อย ซึ่งความสวยของนางนั้นปรากฏให้เห็นชัดตั้งแต่ยังเป็น เด็ก และยังมีผมสวย ดังที่กวีพรรณนาไว้ว่า

"ทรวดทรงส่งศรีไม่มีแบน อรชรอ้อนแอ้นประหนึ่งเหลา
ผมสลวยสวยขำงามเงา ให้ชื่อเจ้าว่าพิมพิลาไลย"
 
 
 
        เมื่อนางเติบโตขึ้นก็ยิ่งมีความสวยงามยิ่งขึ้น เป็นเหตุให้ขุนแผนและขุนช้างมีจิตใจผูกพันรักใคร่ ส่งผลให้เกิดเรื่องราววุ่นวายตามมามากมาย

ลักษณะนิสัย        เนื่องจากนางวันทองมีโอกาสใกล้ชิดกับนางศรีประจัน นางจึงได้รับลักษณะนิสัยบางอย่างของนางศรีประจันมา เช่น เป็นคนเจ้าคารมโวหาร ใช้ถ้อยคำประชดประชันเสียดสี ปากกล้า โดยเฉพาะเมื่อเกิดอารมณ์โมโห นางจะหลุดถ้อยคำหยาบๆ ออกมาได้มากมาย        นางวันทองมีลักษณะสาวชาวบ้านจึงเป็นคนซื่อ ไม่ค่อยฉลาดเท่าใดนัก ทำอะไรก็ทำตามประสาหญิงชาวบ้าน เมื่อโตเป็นสาวก็เริ่มคิดเรื่องคู่ครอง อันเป็นเรื่องธรรมดาตามธรรมชาติ แต่สังคมไทยมีความจำกัดให้ผู้หญิงอยู่ในกรอบของประเพ ณี จึงทำให้ดูเหมือนว่านางวันทองไม่รักนวลสงวนตัว        อย่างไรก็ตาม นางวันทองก็ยังมีภาพลักษณ์ด้านดีที่เห็นได้ชัด คือ ความละเอียดอ่อน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการรับรู้ถึงความดีของผู้อื่นที่ปฏิบัติต่อนาง ดังจะเห็นได้จากถึงแม้นางจะไม่ได้รักขุนช้างแต่ด้วยค วามดีของขุนช้างและความ ผูกพันที่อยู่กันมา 15 ปี ทำให้นางเป็นห่วงเป็นใยความทุกข์สุข และความรู้สึกของขุนช้างไม่น้อย หรือ อารมณ์ที่ละเอียดอ่อนในการเป็นแม่ศรีเรือนที่ดี เช่น ความประณีตในการปักม่าน นอกจากนี้นางวันทองยังเป็นคนกล้าที่จะยอมรับชะตากรรม ของตัวเอง มีน้ำใจเมตตา และให้อภัยโดยไม่เคียดแค้น

 

รสวรรณคดีไทย

          รสวรรณคดีไทย หมายถึง รสของความไพเราะในการใช้ถ้อยคำให้เกิดความงดงามและเกิดอารมณ์แบ่งเป็น ๔ รสคือ
 
๑.เสาวรสจนี เป็นลักษณะของรสวรรณคดีแต่ละประเภทเป็นรสความไพเราะเกี่ยวกับการชม ความงาม อาจเป็นความงามของตัวละคร สถานที่ หรือธรรมชาติ เช่น
 
ตาเหมือนตามฤคมาศ พิศคิ้วพระลอราช
ประดุจแก้วเกาทัณฑ์ ก่งนา
พิศกรรณงามเพริศแพร้ว กลกลิ่มบงกชแก้ว
อีกแก้มปรางทอง เปรียบนา
(ลิลิตพระลอ)
 
 
 
 
๒.นารีปราโมทย์  เป็นรสที่แสดงความรักใคร่ หรือพูดจาโอ้โลมให้อีกฝ่ายเกิดความปฏิพัทธ์ เช่น
 
เจ้างามปลอดยอดรักของพลายแก้วได้มาแล้วแม่อย่าขับให้กลับหนี
พี่สู้ตายไม่เสียดายแก่ชีวี แก้วพี่อย่าได้พร่ำรำพันความ
พี่ผิดพี่ก็มาลุแก่โทษ จงคลายโกรธแม่อย่าถือว่าหยาบหยาม
พี่ชมโฉมโลมลูบด้วยใจงาม ทราบสวาทดิ้นไปไม่ไยดี
(ขุนช้างขุนแผน)
 
 
 

๓.พิโรธวาทัง เป็นบทแสดงความโกรธ ตัดพ้อ เหน็บแนม เสียดสี หรือแสดงความเคียดแค้น เช่น

 ฮึดฮัดขัดแค้นแน่นใจ ตาแดงดั่งแสงไฟฟ้า
เป็นชายดูดู๋มาหมิ่นชาย มิตายก็จะได้เห็นหน้า
(รามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทก)
 

๔.สัลลาปังคพิสัย เป็นรสที่แสดงการคร่ำครวญ โศกเศร้า เช่น

สีดาเอยถึงจะตาย จะวอดวายพระชนมา
จงเอื้อนโอษฐ์ออกเจรจา จะจากแล้วจงสั่งกัน
เจ้าชายเนตรดูพี่บ้าง ให้พี่สร่างซึ่งโศกศัลย์
เราจะร่วมพระเพลิงกัน ในเขตขัณฑ์พระคงคา
(บทพากย์รามเกียรติ์ ตอนกาพย์นางลอย)
 
 



โวหารภาพพจน์

        โวหาร คือ การใช้ถ้อยคำอย่างมีชั้นเชิง เป็นการแสดงข้อความออกมาในทำนองต่างๆ เพื่อให้ข้อความได้เนื้อความดี มีความหมายแจ่มแจ้ง เหมาะสมน่าฟัง ในการเขียนเรื่องราวอาจใช้โวหารต่างๆ กัน แล้วแต่ชนิดของข้อความ(สมถวิล วิเศษสมบัติ. ๒๕๔๔ : ๑๒๙)
                      โวหารภาพพจน์ คือ กลวิธีการนำเสนอสารโดยการพลิกแพลงภาษาที่ใช้พูด หรือเขียนให้แปลกออกไปจากภาษาตามตัวอักษรทำให้ผู้อ่านเกิดภาพในใจ เกิดความประทับใจ เกิดความรู้สึกสะเทือนใจ เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นภาพอย่างชัดเจน

อุปมา คือ การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยใช้คำเชื่อมที่มี ความหมายเช่นเดียวกับ คำว่า"เหมือน" เช่น ดุุจ ดั่ง ราว ราวกับ เปรียบ ประดุจ เฉก เล่ห์ ปาน ประหนึ่ง  เพียง เพี้ยง พ่าง ปูน ฯลฯ
 
อุปลักษณ์ ก็คล้ายกับอุปมาโวหารคือเป็นการเปรียบเทียบเหมือนกัน แต่เป็นการเปรียบเทียบ สิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง
อุปลักษณ์จะไม่กล่าวโดยตรงเหมือนอุปมา แต่ใช้วิธีกล่าวเป็นนัยให้เข้าใจเอาเอง ที่สำคัญ อุปลักษณ์จะไม่มีคำเชื่อมเหมือนอุปมา
 
ปฏิพากย์ หรือ ปรพากย์ คือการใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้าม หรือขัดแย้งกันมากล่าว อย่างกลมกลืนกันเพื่อเพิ่มความหมายให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น

อติพจน์ หรือ อธิพจน์ คือโวหารที่กล่าวเกินความจริง เพื่อเน้นความรู้สึก ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ลึกซึ้งภาพพจน์ชนิดนี้นิยมใช้กันมากแม้ในภาษาพูด เพราะเป็นการกล่าวที่ทำให้เห็นภาพได้ง่ายและแสดงความรู้สึกของกวีได้อย่างชัดเจน
 
บุคลาธิษฐาน หรือ บุคคลวัต คือการกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่ไม่มีชีวิต ไม่มีความคิด ไม่มีวิญญาณ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ อิฐ ปูน  หรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น ต้นไม้ สัตว์โดยให้สิ่งต่างๆเหล่านี้แสดงกิริยาอาการและความรู้สึกได้เหมือนมนุษย์(บุคลาธิษฐาน มาจากคำว่า บุคคล+อธิษฐาน หมายถึง อธิษฐานให้กลายเป็นบุคคล)

สัญลักษณ์ เป็นการเรียกชื่อสิ่งๆหนึ่งโดยใช้คำอื่นมาแทน ไม่เรียกตรงๆ ส่วนใหญ่คำที่นำมาแทนจะเป็นคำที่เกิดจากการเปรียบเทียบและตีความซึ่งใช้กันมานานจนเป็นที่เข้าใจและรู้จักกันโดยทั่วไป

นามนัย คือการใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใด สิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง คล้ายๆสัญลักษณ์ แต่ต่างกันตรงที่ นามนัยนั้นจะดึงเอาลักษณะบางส่วนของสิ่งหนึ่งมากล่าว ให้หมายถึงส่วนทั้งหมด
 

สัทพจน์ หมายถึง ภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น  เสียงดนตรี เสียงสัตว์ เสียงคลื่น เสียงลม เสียงฝนตก เสียงน้ำไหล ฯลฯ  การใช้ภาพพจน์ประเภทนี้จะทำให้เหมือนได้ยินเสียงนั้นจริงๆ