วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

การเขียนจดหมาย

     

ในปัจจุบัน โลกมีการพัฒนาการสื่อสารทางโทรคมนาคมได้สะดวก และรวดเร็ว แต่การสื่อสารอีกชนิดที่ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งก็คือ การเขียนจดหมาย เพราะสามารถเขียนได้ทุกเวลา ทุกโอกาส เก็บไว้ได้นาน จดหมายของบุคคลสำคัญจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในอนาคต และจดหมายที่เขียนดีมีคุณค่าก็อาจเป็นวรรณกรรมได้

หลักการเขียนจดหมาย     การเขียนจดหมายควรยึดหลักสำคัญ ดังต่อไปนี้
ขนาดซอง

     การใช้ซองขนาดมาตรฐาน ปัจจุบันที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งจะมีซองจดหมายจำหน่าย นับว่าเป็นซองที่มีขนาดเหมาะสม โดยทั่วไปมี ๒ แบบ ดังนี้
        ๑.ซองสั้น มีขนาด ๓.๕ x ๖ นิ้ว ถึง ๔.๕ x ๗ นิ้ว
        ๒.ซองยาวมีขนาด ๔.๒๕ x ๙ นิ้ว

การจ่าหน้าซอง
      มีหลักการ ดังนี้
       ๑.ที่อยู่ของผู้รับ ต้องเรียงลำดับจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ ได้แก่
           - ที่ นามสกุลของผู้รับ ถ้าเป็นจดหมายสำคัญ เช่น มีธนาณัติสอดอยู่ด้วย ต้องระบุคำนำหน้าชื่อผู้รับ
           - บ้านเลขที่ ซอย หรือตำบล
           - ถนนที่ตั้ง
           - ตำบลหรือเเขวง
           - อำเภอหรือเขต
           - จังหวัดและรหัสไปรษณีย์
       ๒.ที่อยู่ของผู้ส่ง เรียงลำดับเช่นเดียวกับผู้รับ จะเขียนไว้ด้านบนซ้ายของตนเอง
       ๓.คำขึ้นต้น
           - ถ้าเป็นจดหมายส่วนตัว อาจใช้คำว่า "กรุณาส่ง" หรือ "นามผู้รับ"
           - ถ้าเป็นจดหมายราชการหรือจดหมายธุรกิจนิยมใช้ "เรียน"
           - จดหมายถึงพระสงฆ์ทั่วไปใช้ "นมัสการ"
       ๔.เเสตมป์ ต้องติดสเเตมป์ตามราคาที่กรมไปรษณีย์ฯ กำหนด เพราะถ้าติดไม่ครบ ผู้รับจะถูกปรับเป็น ๒ เท่าของราคาเเสตมป์ที่ขาดไป

 
การเขียนตามเเบบแผนที่นิยม     ลักษณะการเขียนจดหมายตามเเบบเเผนที่นิยม ได้แก่
        ๑.คำขึ้นต้น ต้องเหมาะแก่ฐานะและตำแหน่งหน้าที่
        ๒.การวางรูปแบบจดหมาย ควรจัดวางให้มีสัดส่วนพอเหมาะกับหน้ากระดาษ โดยเว้นด้านหน้าประมาณ ๑ นิ้ว และเว้นด้านหลังประมาณครึ่งนิ้ว
        ๓.สำนวนภาษาที่ใช้ในการเขียน ต้องคำนึงถึงความสุภาพ เขียนถูกต้องเหมาะแก่ฐานะ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
        ๔.ถ้าต้องการอวยพรให้เพื่อนหรือญาติผู้ใหญ่ใน
ตอนท้ายของจดหมาย 
ควรอ้างถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ เพื่อทำให้คำอวยพรมีความขลังและสละสลวย
        ๕.คำลงท้าย ต้องใช้ให้ถูกต้องเเละเหมาะแก่ฐานะและบุคคล

 
รูปแบบของจดหมาย       ๑.รูปแบบของการวางรูปจดหมาย
           ๑.๑ ที่อยู่ของผู้เขียน อยู่ตรงมุมบนขวาของหน้ากระดาษ โดยเริ่มเขียนจากกึ่งกลางหน้ากระดาษ โดยเริ่มเขียนจากประมาณกึ่งกลางหน้ากระดาษ
           ๑.๒ วันเดือนปี เขียนเยื้องที่อยู่ผู้เขียนมาข้างหน้าเล็กน้อย
           ๑.๓ คำขึ้นต้น อยู่ด้านซ้ายห่างจากขอบกระดาษประมาณ ๑ นิ้ว และเป็นเเนวชิดด้านซ้ายสุดของเนื้อความ
           ๑.๔ เนื้อความ เริ่มเขียนโดยย่อหน้าเล็กน้อย และควรขึ้นย่อหน้าใหม่เมื่อขึ้นเนื้อความใหม่ นอกจากนี้ต้องเว้นวรรคตอนให้ถูกต้องด้วย
           ๑.๕ คำลงท้าย อยู่ตรงกับวันเดือนปีที่เขียน
           ๑.๖ ชื่อผู้เขียน เยื้องลงมาทางขวามือ ถ้าเขียนจดหมายถึงบุคคลที่ไม่คุ้ยเคย ควรวงเล็บชื่อที่เขียนเป็นตัวบรรจงด้วย ถ้าเป็นจดหมายราชการต้องบอกยศตำแหน่งของผู้ส่งด้วย


รูปแบบของจดหมาย (ที่อยู่ผู้เขียน)......................
(วันที่)......................(เดือน)....................(พศ.)......................
(คำขึ้นต้น)...................................
(เนื้อหา
)...................................

...........................................
.........................................
........................................
(คำลงท้าย)............................
(ชื่อผู้เขียน)..........................


รูปแบบของคำขึ้นต้น สรรพนาม คำลงท้าย     ในการเขียนจดหมายต้องคำนึงถึงการเขียนคำขึ้นต้น คำลงท้าย และสรรพนามให้ถูกต้อง ดังนี้
ผู้รับ คุณพ่อ,คุณเเม่ คำขึ้นต้น กราบเท้า...ที่เคารพอย่างสูง
สรรพนาม (ผู้เขียน) ลูก, หนู, ผม, กระผม, ดิฉัน หรือใช้ชื่อเล่นเเทน
สรรพนาม (ผู้รับ) คุณพ่อ คุณเเม่
คำลงท้าย ด้วยความเคารพรักอย่างสูง

ผู้รับ ญาติผู้ใหญ่คำขึ้นต้น กราบเท้า....ที่เคารพอย่างสูง หรือ กราบเรียน...ที่เคารพอย่างสูง
สรรพนาม (ผู้เขียน) หลาน, ผม, กระผม, ดิฉัน, หนู, หรือใช้ชื่อเล่นแทน
สรรพนาม (ผู้รับ) คุณปู่, คุณย่า, คุณตา, คุณยาย, คุณลุง, คุณป้า, คุณน้า, คุณอา
คำลงท้าย ด้วยความเคารพอย่างสูง

ผู้รับ พี่หรือเพื่อนที่อาวุโสกว่าคำขึ้นต้น เรียนคุณพี่ที่เคารพ หรือ กราบ...ที่เคารพ
สรรพนาม (ผู้เขียน) น้อง, ผม, ดิฉัน, หนู, หรืออาจใช้ชื่อเล่นเเทน
สรรพนาม (ผู้รับ) คุณพี่, คุณ ...
คำลงท้าย ด้วยความเคารพ, ด้วยความเคารพรัก

ผู้รับ น้อง หรือเพื่อนคำขึ้นต้น ...น้องรัก หรือ คุณ ... ที่รัก หรือ (ชื่อเล่น) ที่รัก
สรรพนาม (ผู้เขียน) ฉัน พี่
สรรพนาม (ผู้รับ) เธอ, คุณ, น้อง
คำลงท้าย ด้วยความรัก, ด้วยความรักยิ่ง, รักเเละคิดถึง

ผู้รับ บุคคลทั่วไปคำขึ้นต้น เรียนคุณ...ที่นับถือ หรือ เรียนผู้จัดการบริษัท ... จำกัด
สรรพนาม (ผู้เขียน) ผม, ดิฉัน
สรรพนาม ผู้รับ) คุณ, ท่าน
คำลงท้าย ของเเสดงความนับถือ

ผู้รับ พระภิกษุทั่วไป คำขึ้นต้น นมัสการ...
สรรพนาม (ผู้เขียน) ผม,กระผม, ดิฉัน
สรรพนาม (ผู้รับ) ท่าน, พระคุณท่าน, ใต้เท้า, พระคุณเจ้า
คำลงท้าย ขอนมัสการมาด้วยความเคารพอย่างสูง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น