วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

การอ่านตัวเลขต่างๆ

มีหลักการในการอ่านดังนี้
๑. การอ่านจำนวนเลขตั้งแต่ ๒ หลักขึ้นไป  ถ้าเลขตัวท้ายเป็นเลข ๑ ให้ออกเสียงว่า "เอ็ด" เช่น
              เขียน                                        อ่านว่า
           ๑๑                                สิบ - เอ็ด
           ๒๑                                ยี่ - สิบ - เอ็ด
           ๑๐๑                              ร้อย - เอ็ด  หรือ  หนึ่ง - ร้อย - เอ็ด
           ๑๐๐๑                            พัน - เอ็ด  หรือ  หนึ่ง - พัน -เอ็ด
           ๒๕๐๑                           สอง - พัน - ห้า - ร้อย - เอ็ด
           ๕๐๑,๗๔๑,๒๒๑            ห้า - ร้อย - เอ็ด - ล้าน -
                                               เจ็ด - แสน - สี่ -หมื่น - หนึ่ง - พัน -
                                               สองร้อย - ยี่ - สิบ - เอ็ด          
 
๒. การอ่านตัวเลขที่มีจุดทศนิยม
          ๒.๑ ตัวเลขหน้าจุดทศนิยม ให้อ่านแบบจำนวนเต็ม ตัวเลขหลังจุดทศนิยม ให้อ่านแบบเรียงตัว  เช่น
          เขียน                               อ่านว่า
         ๑.๒๓๕         หนึ่ง - จุด - สอง - สาม - ห้า
         ๕๑.๐๘          ห้า - สิบ - เอ็ด - จุด - สูน -                              แปด
     ๒.๒ ตัวเลขที่เป็นเงินตรา หรือ หน่วยนับ ให้อ่านตามหน่วยเงินตรา หรือ หน่วยนับนั้นๆ เช่น
              เขียน                                        อ่านว่า
          ๕.๘๐ บาท                      ห้า - บาท - แปด - สิบ - สะ - ตาง
          ๘.๖๕ ดอลลาร์                 แปด - ดอน - ล่า - หก - ห้า - เซ็น
          ๓.๕๘ เมตร                      สาม - เมด - ห้า - สิบ - แปด -                                                 เซ็น - ติ - เมด
          ๒.๒๐๕ กิโลกรัม               สอง - กิ - โล - กรัม - สอง -                                                 ร้อย - ห้า - กรำ
 
๓. การอ่านตัวเลขบอกเวลา
           ๓.๑ การอ่านชั่วโมงที่ไม่มีจำนวนนาที เช่น
              เขียน                                        อ่านว่า    
          ๐๕.๐๐ น. หรือ ๐๕:๐๐ น.            ห้า - นา - ลิ - กา
          ๒๔.๐๐ น. หรือ ๒๔:๐๐ น.           ยี่ - สิบ - สี่ - นา - ลิ - กา
           ๐๐.๐๐ น. หรือ ๐๐:๐๐ น.            สูน - นา - ลิ - กา
           ๓.๒ การอ่านชั่วโมงกับนาที เช่น
              เขียน                                         อ่านว่า
          ๑๑.๓๕ น. หรือ ๑๑:๓๕ น.           สิบ - เอ็ด - นา - ลิ - กา -                                                           สาม - ห้า - นา - ที
          ๑๖.๓๐ น. หรือ ๑๖:๓๐ น.            สิบ - หก - นา - ลิ - กา -                                                           สาม - สิบ - นา -ที
          ๐๐.๐๕ น. หรือ ๐๐:๐๕ น.             สูน - นา - ลิ - กา - ห้า -                                                            นา - ที
          ๓.๓ การอ่านชั่วโมง นาที และวินาที เช่น
              เขียน                                        อ่านว่า       
         ๗:๓๐:๔๕                             เจ็ด - นา -ลิ - กา -สาม - สิบ -                                                     นา - ที - สี่ - สิบ - ห้า - วิ -                                                     นา - ที        
         ๐๒:๒๘:๑๕                           สอง - นา - ลิ - กา - ยี่ - สิบ -                                                     แปด - นา - ที - สิบ - ห้า - วิ -                                                     นา - ที
     ๓.๔ การอ่านเวลที่มีเศษของวินาที ตัวเลขหลังจุดทศนิยมที่เป็นเศษของวินาที ให้อ่านเรียงตัว เช่น
             เขียน                                              อ่านว่า
         ๘:๐๒:๓๗.๘๖                             แปด - นา - ลิ - กา - สอง -                                                           นา- ที - สาม - สิบ - เจ็ด -                                                           จุด - แปด -หก - วิ - นา -ที
         ๑๐-๑๔-๒๔.๓๗                           สิบ - นา - ลิ - กา - สิบ -                                                           สี่ - นา - ที - ยี่ - สิบ - สี่ -                                                           จุด - สาม - เจ็ด - วิ -                                                            นา -ที
 หมายเหตุ : การเขียนตัวเลขบอกเวลาโดยใช้เครื่องหมายทวิภาค (:) คั่นระหว่างตัวเลขบอกชั่วโมง นาที วินาที เป็นวิธีการเขียนอย่างทั่วไปส่วนการใช้เครื่องหมายยติภังค์ (-) คั่นระหว่างตัวเลขบอกชั่วโมง นาที วินาที เป็นวิธีการเขียนที่ใช้ในการเดินเรือหรือทางดาราศาสตร์

 
๔. การอ่านตัวเลขที่แสดงมาตราส่วน หรือ อัตราส่วน เช่น
         เขียน                                                    อ่านว่า
         ๑:๑๐๐,๐๐๐                                หนึ่ง - ต่อ - แสน หรือ
                                                           หนึ่ง - ต่อ - หนึ่ง - แสน
         ๑:๒:๔                                         หนึ่ง - ต่อ - สอง - ต่อ - สี่
 
๕. การอ่นเลขหนังสือราชการ นิยมอ่านเรียงตัว เช่น
         - หนังสือที่ รถ ๐๐๐๑/๑๐๒ ลว. ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๘  อ่านว่า  หนัง - สือ - ที่    รอ - ถอ    สูน - สูน - สูน - หนึ่ง  ทับ   หนึ่ง - สูน - สอง  ลง - วัน - ที่   สิบ ตุ - ลา - คม    พุด - ทะ - สัก - หราด    สอง - พัน - ห้า - สาม - สิบ - แปด
         - หนังสือที่ ศธ ๐๐๓๐.๐๑/๕๙๗ ลว.  ๘ พ.ย. ๒๕๓๔  อ่านว่า  หนัง - สือ - ที่   สอ - ทอ   สูน - สูน - สาม - สูน - จุด - สูน - หนึ่ง   ทับ   ห้า - เก้า - เจ็ด   ลง - วัน - ที่   แปด   พรึด - สะ - จิ - กา - ยน   พุด - ทะ - สัก - กะ - หราด   สอง - พัน - ห้า - ร้อย - สาม - สิบ - สี   (เพิ่มข้อความ "พุทธศักราช" เพื่อให้ความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น)
 
๖. การอ่านเลข ร.ศ. ที่มีการเทียบเป็น พ.ศ. กำกับ เช่น
         - ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖)   อ่านว่า   รัด - ตะ - นะ - โก - สิน - สก   ร้อย - สิบ - สอง   ตรง - กับ   พุด - ทะ - สัก - กะ - หราด   สอง - พัน - สี่ - ร้อย - สาม - สิบ - หก   (เพิ่มข้อความ "ตรงกับ" เพื่อให้ความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น)   หรือ   รัด - ตะ - นะ - โก - สิน - สก ร้อย - สิบ - สอง   วง - เล็บ - เปิด    พุด - ทะ - สัก - กะ - หราด สอง - พัน - สี่ - ร้อย - สาม - สิบ - หก   วง - เล็บ - ปิด
 
๗.การอ่านบ้านเลขที่
  •  บ้านเลขที่ทีมีเครื่องหมายทับ (/) และบ้านเลขที่ที่ไม่มีเครื่องหมายทับ (/) มีหลักการอ่านเหมือนกัน คือ บ้านเลขที่ซึ่งมีตัวเลข ๒ หลัก ให้อ่านแบบจำนวนเต็ม ถ้ามีตัวเลข ๓ หลักขึ้นไป ให้อ่านเรียงตัวหรือแบบจำนวนเต็ม ส่วนตัวเลขหลังเครื่องหมายทับ (/) ให้อ่านเรียงตัว เช่น
         บ้านเลขที่ ๑๐   อ่านว่า   บ้าน - เลก - ที่  สิบ
         บ้านเลขที่ ๔๑๔   อ่านว่า   บ้าน - เลก - ที่   สี่ - หนึ่ง - สี่  หรือ  บ้าน - เลก - ที่   สี่ - ร้อย - สิบ - สี่
         บ้านเลขที่ ๖๕๗/๒๑   อ่านว่า   บ้าน - เลก - ที่   หก - ห้า - เจ็ด  ทับ  สอง - หนึ่ง  หรือ  บ้าน - เลก - ที่  หก - ร้อย - ห้า - สิบ - เจ็ด  ทับ  สอง - หนึ่ง
  •  กลุ่มตัวเลขที่มีเลข ๐ นำหน้า อ่านเรียงตัวเสมอ เช่น
         บ้านเลขที่ ๐๘๖๔/๑๑๐๘   อ่านว่า   บ้าน - เลก - ที่   สูน - แปด - หก - สี่  ทับ  หนึ่ง - หนึ่ง - สูน - แปด
 
๘. การอ่านรหัสไปรษณีย์
         รหัสไปรษณีย์เป็นกลุ่มตัวเลขที่กำหนดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้ทราบถึงปลายทางของสิ่งที่ส่งทางไปรษณีย์ และใช้แทนรายละเอียดพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้การคัดแยกและส่งต่อทางไปรษณืย์ไปยังปลายทางเป็นไปด้วความถูกต้องและรวดเร็วรหัสไปรษณีย์ประกอบด้วยตัวเลข ๕ ตัว ตัวเลข ๒ ตัวแรก หมายถึง จังหวัด ส่วนตัวเลข ๓ ตัวหลัง หมายถึงที่ทำการไปรษณีย์ของจังหวัดนั้นๆ เช่น  รหัสไปรษณีย์  ๓๒๑๙๐  ตัวเลข ๓๒ หมายถึง จังหวัดสุรินทร์  ส่วนตัวเลข ๑๙๐ หมายถึงที่ทำการไปรษณีย์จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งรับผิดชอบการนำจ่ายสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ในพื้นที่ชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
         การอ่านเลขรหัสไปรษณีย์ ให้อ่านตัวเลขแบบเรียงตัว ดังนี้
         รหัสไปรษณีย์ ๓๒๑๙๐   อ่านว่า   ระ - หัด - ไปร - สะ - นี   สาม - สอง - หนึ่ง - เก้า - สูน
 
๙. การอ่านเลขแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์
     ๙.๑ แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้อ่านหมายเลขประจำหมวดกับตัวอักษรบอกหมวดก่อน แล้วจึงอ่านตัวเลขแบบเรียงตัว ตามด้วยชื่อจังหวัดที่จดทะเบียน ส่วนแผ่นป้ายทะเบียนตามกฏกระทรวง ฉบับที่ ๒๕ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้อ่านตัวอักษรบอกหมวดก่อนแล้วอ่านตัวเลขแบบเรียงตัวตามด้วยชื่อจังหวัดที่จดทะเบียน ดังนี้
         เลขทะเบียน ๕ช-๒๔๓๗ กรุงเทพมหานคร   อ่านว่า  เลก - ทะ - เบียน   ห้า - ชอ - ช้าง   สอง - สี่ - สาม - เจ็ด   กรุง - เทบ - มะ - หา - นะ - คอน
         เลขทะเบียน ภบ ๔๑๐๗ กรุงเทพมหานคร   อ่านว่า   เลก - ทะ - เบียน   พอ - สำ - เพา - บอ - ใบ - ไม้   สี่ - หนึ่ง - สูน - เจ็ด   กรุง - เทบ - มะ - หา - นะ - คอน
     ๙.๒ แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ ๒๕๒๒ นั้น ให้อ่านตัวเลขรหัสแสดงประเภทรถยนต์ก่อน แล้วจังอ่านตัวเลขแบบเรียงตัว ตามด้วยชื่อรหัสจังหวัดที่จดทะเบียน ดังนี้
         เลขทะเบียน ๘๐-๒๔๓๗ กรุงเทพมหานคร ๐๑   อ่านว่า   เลก - ทะ - เบียน   แปด - สูน - สอง - สี่ - สาม - เจ็ด   กรุง - เทบ - มะ - หา - นะ - คอน  สูน - หนึ่ง

 
๑๐. การอ่านหมายเลขโทรศัพท์
               การอ่านหมายเลขโทรศัพท์ แต่เดิมกำหนดให้อ่านเลข "สอง" ว่า "โท" เพื่อให้เสียงอ่านเลข "๒" กับเลข "๓" แตกต่างกัน เนื่องจากหมายเลขโทรศัพท์ประกอบด้วยตัวเลขหลายตัว บางครั้งอาจมีเลข ๒ และ ๓ อยู่เรียงกันหลายตัว เสียงอ่านเลข "๒" กับเลข "๓" มีเสียงใกล้เคียงกัน แต่ปัจจุบันระบบโทรศัพท์พัฒนาเจริญก้าวหน้ามาก เสียงอ่านเลข "๒" ไม่สับสนเป็น "๓" จึงให้อ่านเลขหมายโทรศัพท์ "๒" ว่า "สอง" หรือจะอ่านว่า "โท" ก็ได้
     ๑๐.๑ หมายเลขโทรศัพท์ในประเทศ
                 ในปัจจุบันได้มีการกำหนดรูปแบบหมายเลขโทรศัพท์ในประเทศทั้งโทรศพท์พื้นฐานและโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยรวมหมายเลขรหัสไกลหรือรหัสโทรเคลื่อนที่ที่มีอยู่เดิมเข้ากับหมายเลขโทรศัพท์เป็นหมายเลข ๙ หลัก การเขียนและอ่านหมายเลขโทรศัพท์ ซึงเดิมเขียนและอ่านหมายเลขรหัสทางไกลหรือรหัสโทรศัพท์เคลื่อนที่ก่อนแล้วจึงเขียนและอ่านหมายเลขโทรศัพท์ ได้รับเปลี่ยนใหม่ เป็นดังนี้
                 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลซึ่งเดิมมีรหัสทางไกล ๐๒ เขียนดังนี้
                       หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๕๓๑ ๓๒๓๔    อ่านว่า   หมาย - เลก - โท - ระ - สับ   สูน  สอง - ห้า - สาม - หนึ่ง   สาม - สอง - สาม - สี่   หรือ   หมาย - เลก - โท - ระ - สับ   สูน โท - ห้า - สาม - หนึ่ง   สาม - โท - สาม - สี่
                       หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๖๔๓ ๕๑๕๑-๒๒   อ่านว่า    หมาย - เลก - โท - ระ - สับ    สูน  สอง - หก - สี่ - สาม    ห้า - หนึ่ง - ห้า - หนึ่ง   ถึง   สอง - สอง
                 ในต่างจังหวัด เช่น จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเดิมมีรหัสทางไกล (๐๓๒) เขียนดังนี้
                       หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๓๒๒๑ ๑๒๓๔   อ่านว่า   หมาย - เลก - โท - ระ - สับ   สูน   สาม - สอง - สอง - หนึ่ง   หนึ่ง - สอง - สาม - สี่   หรือ   หมาย - เลก - โท - ระ - สับ   สูน   สาม - โท - โท - หนึ่ง   หนึ่ง - โท - สาม - สี่
                หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งมัรหัส ๐๘๑ ๐๘๙ ๐๘๖  เขียนดังนี้
                       หมายเลขโทรศัพท์  ๐๘ ๑๕๕๓ ๐๗๔๓   อ่านว่า   หมาย - เลก - โท - ระ - สับ    สูน - แปด  หนึ่ง - ห้า - สาม   สูน - เจ็ด - สี่ 

ข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่นี่


1 ความคิดเห็น: