วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

รสวรรณคดีไทย

          รสวรรณคดีไทย หมายถึง รสของความไพเราะในการใช้ถ้อยคำให้เกิดความงดงามและเกิดอารมณ์แบ่งเป็น ๔ รสคือ
 
๑.เสาวรสจนี เป็นลักษณะของรสวรรณคดีแต่ละประเภทเป็นรสความไพเราะเกี่ยวกับการชม ความงาม อาจเป็นความงามของตัวละคร สถานที่ หรือธรรมชาติ เช่น
 
ตาเหมือนตามฤคมาศ พิศคิ้วพระลอราช
ประดุจแก้วเกาทัณฑ์ ก่งนา
พิศกรรณงามเพริศแพร้ว กลกลิ่มบงกชแก้ว
อีกแก้มปรางทอง เปรียบนา
(ลิลิตพระลอ)
 
 
 
 
๒.นารีปราโมทย์  เป็นรสที่แสดงความรักใคร่ หรือพูดจาโอ้โลมให้อีกฝ่ายเกิดความปฏิพัทธ์ เช่น
 
เจ้างามปลอดยอดรักของพลายแก้วได้มาแล้วแม่อย่าขับให้กลับหนี
พี่สู้ตายไม่เสียดายแก่ชีวี แก้วพี่อย่าได้พร่ำรำพันความ
พี่ผิดพี่ก็มาลุแก่โทษ จงคลายโกรธแม่อย่าถือว่าหยาบหยาม
พี่ชมโฉมโลมลูบด้วยใจงาม ทราบสวาทดิ้นไปไม่ไยดี
(ขุนช้างขุนแผน)
 
 
 

๓.พิโรธวาทัง เป็นบทแสดงความโกรธ ตัดพ้อ เหน็บแนม เสียดสี หรือแสดงความเคียดแค้น เช่น

 ฮึดฮัดขัดแค้นแน่นใจ ตาแดงดั่งแสงไฟฟ้า
เป็นชายดูดู๋มาหมิ่นชาย มิตายก็จะได้เห็นหน้า
(รามเกียรติ์ตอนนารายณ์ปราบนนทก)
 

๔.สัลลาปังคพิสัย เป็นรสที่แสดงการคร่ำครวญ โศกเศร้า เช่น

สีดาเอยถึงจะตาย จะวอดวายพระชนมา
จงเอื้อนโอษฐ์ออกเจรจา จะจากแล้วจงสั่งกัน
เจ้าชายเนตรดูพี่บ้าง ให้พี่สร่างซึ่งโศกศัลย์
เราจะร่วมพระเพลิงกัน ในเขตขัณฑ์พระคงคา
(บทพากย์รามเกียรติ์ ตอนกาพย์นางลอย)
 
 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น